คอนกรีตพิมายทนดินเค็มซีแพค
รายละเอียด
คอนกรีตที่ออกแบบมา เพื่อให้มีคุณสมบัติ ต้านทานการซึมผ่านของ คลอไรด์ และ ซัลเฟต ซึ่งสะสมอยู่ในดิน หรือบริเวณแหล่งน้ำใกล้เคียง โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ดินเค็ม คอนกรีตพิมายทนดินเค็มซีแพค ได้รับการออกแบบให้ถูกต้องตามข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้าง สำหรับโครงสร้างคอนกรีต (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย) โดยทั้ง
คลอไรด์ และ ซัลเฟต จะส่งผลร้ายต่อโครงสร้างคอนกรีต คลอไรด์ จะเร่งปฎิกิริยาการเกิดสนิมของเหล็กเสริม ทำให้สนิมเกิดได้เร็วขึ้น ส่วนซัลเฟต จะทำปฎิกิริยากับคอนกรีต ทำให้คอนกรีตเสื่อมสภาพเร็วขึ้น และมีความแข็งแรงลดลง
เหมาะสำหรับงานประเภท
โครงสร้างที่สัมผัสกับ คลอไรด์ และ ซัลเฟต ที่สะสมอยู่ในดิน หรือบริเวณแหล่งน้ำใกล้เคียง โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ดินเค็ม
โดยมีกำลังอัดรูปทรงลูกบาศก์ (Cube) มาตรฐานให้เลือกใช้ได้ตั้งแต่ 240 – 400 กก./ตร.ซม. (กรณีที่ต้องการกำลังอัดมากกว่า 400 กก./ตร.ซม. สามารถออกแบบเพิ่มเติมได้)
คุณสมบัติ
- ต้านทานการซึมผ่านของ คลอไรด์ และ ซัลเฟต โดยสามารถต้านทานการซึมผ่านของ คลอไรด์ ได้ถึงระดับความเข้มข้น 10,000 – 27,000 ppm และต้านทานซัลเฟตได้ถึงระดับความเข้มข้น 2,200 ppm
คำแนะนำในการใช้งาน และข้อควรระวัง
- ไม่ควรเติมน้ำเพื่อให้คอนกรีตมีความเหลวมากขึ้น เพราะจะทำให้คุณสมบัติคอนกรีต ไม่เป็นไปตามที่ออกแบบไว้
- ควรจี้เขย่าคอนกรีตอย่างถูกวิธี ตามข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้าง สำหรับโครงสร้างคอนกรีต (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโพรงในคอนกรีต และจะทำให้คอนกรีตมีความแข็งแรง และคงทนเพิ่มขึ้น
- การบ่มคอนกรีต ควรทำการบ่มชื้นคอนกรีตทันที หลังจากที่คอนกรีตเริ่มเซ็ตตัว อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การขังน้ำ ใช้น้ำยาสำหรับบ่มคอนกรีต ใช้กระสอบเปียกคลุม แล้วรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา หรือฉีดด้วยน้ำสะอาดให้ชุ่มตลอดเวลา หรือตามข้อกำหนดมาตรฐานวัสดุและการก่อสร้าง สำหรับโครงสร้างคอนกรีต (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย)
- โครงสร้างและอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างพิเศษที่อาจจะต้องใช้วิธีการบ่มที่เหมาะสมอื่นๆ นอกเหนือจากวิธีนี้