คอนกรีตความร้อนต่ำซีแพค
รายละเอียด
ลดปัญหาและความกังวลเรื่องการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากอุณหภูมิ (Thermal Crack) ด้วยคอนกรีตพิเศษที่ถูกออกแบบให้เกิดความร้อนต่ำกว่าคอนกรีตปกติ โดยเฉพาะโครงสร้างที่มีความหนามากกว่า 50 ซม.ขึ้นไป
เนื่องจากโดยทั่วไป คอนกรีตจะมีการคายความร้อนออกมา หลังจากที่ซีเมนต์ในคอนกรีตทำปฎิกิริยากับน้ำ โดยเฉพาะโครงสร้างที่มีความหนามากกว่า 50 ซม.ขึ้นไป ความร้อนที่สะสมอยู่ภายในโครงสร้างอาจมีอุณหภูมิสูงมากกว่า 70 องศาเซลเซียส จึงก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิที่ผิวและอุณหภูมิภายในโครงสร้าง (Differential Temperature) ทำให้คอนกรีตเกิดการหดตัวและการยึดรั้งที่ต่างกัน ในที่สุดคอนกรีตก็จะแตกร้าว (Thermal Crack) ทำให้น้ำและความชื้น อาจซึมผ่านโครงสร้างคอนกรีตเข้าไปทำลายเหล็กเสริม ทำให้โครงสร้างไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามที่ออกแบบไว้
เหมาะสำหรับงานประเภท
โครงสร้างที่มีความหนามากกว่า 50 ซม. ขึ้นไป เช่น ฐานรากขนาดใหญ่ คานขนาดใหญ่ เขื่อนคอนกรีต
คุณสมบัติ
- เป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบมาเพื่อคายความร้อนต่ำกว่าคอนกรีตปกติ
- เนื้อคอนกรีตมีความลื่นไหล เทง่าย จี้เขย่าได้ง่าย ช่วยลดเวลาการทำงาน
- กำลังอัดในระยะยาวสูงกว่าคอนกรีตทั่วไป มีการเยิ้มน้ำ การแยกตัวและหดตัวต่ำ
คำแนะนำในการใช้งาน และข้อควรระวัง
- แบบหล่อด้านข้างควรใช้แบบไม้ เพราะมีค่าความเป็นฉนวนความร้อนที่ดี ควรบ่มคอนกรีตหลังการเทด้วยฉนวน เช่น โฟม หรือการเททรายแห้ง หนาประมาณ 5 ซม. เพื่อทำให้อุณหภูมิในโครงสร้างมีค่าใกล้เคียงกัน
- สำหรับฐานรากขนาดใหญ่ที่มีการแบ่งเทเป็นชั้นในแนวนอน ควรคำนึงถึงเหล็กเสริมบน ระหว่างชั้นที่เท เพื่อป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีตที่ผิวบน (โปรดพิจารณาให้เป็นไปตามมาตรฐาน ACI 207.2R)
- การแบ่งเทฐานรากขนาดใหญ่ การแบ่งเทแนวตั้ง – ต้องใส่เหล็กเสริมถ่ายแรง (Dowel) เพื่อรับแรงเฉือนแนวดิ่งบริเวณรอยต่อของคอนกรีต
- การแบ่งเทแนวนอน – ต้องใส่เหล็กเสริมถ่ายแรง (Dowel) เพื่อรับแรงเฉือนแนวราบบริเวณรอยต่อของชั้นคอนกรีต รวมทั้งเพิ่มเหล็กเสริมกันแตกที่ผิวบนของคอนกรีตชั้นล่าง
- วิธีการบ่มด้วยฉนวน (Insulation Cure) การบ่มคอนกรีตด้วยฉนวนเพื่อควบคุมไม่ให้อุณหภูมิที่ผิวถูกถ่ายเทเร็วเกินไป จนทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิภายในและภายนอก จนทำให้เกิดการหดตัวที่แตกต่างกัน และนำไปสู่การแตกร้าว
- การบ่มด้วยฉนวน มีวิธีการ ดังนี้
- คลุมด้วยแผ่นพลาสติก โดยให้รอยต่อของแผ่นพลาสติก วางทับกันและให้มีระยะที่ทับกันไม่น้อยกว่า 15ซม.
- วางโฟมที่มีความหนาอย่างน้อย 2ซม. บนแผ่นพลาสติก
- คลุมทับอีกครั้ง ด้วยแผ่นพลาสติก โดยให้รอยต่อของแผ่นพลาสติก วางทับกันและให้มีระยะที่ทับกันไม่น้อยกว่า 15ซม.
- ควรหาวัสดุวางทับเพื่อไม่ให้แผ่นพลาสติกปลิว
- ในกรณีที่มีการติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิของคอนกรีตในโครงสร้าง สามารถพิจารณาระยะเวลาในการปลดฉนวนออก โดยรอจนอุณหภูมิคอนกรีตที่แกนกลางลดลงมาในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดการแตกร้าว (ความต่างระหว่างอุณหภูมิที่แกนกลางคอนกรีต และ อุณหภูมิอากาศ ต้องน้อยกว่า 35 องศาเซลเซียส)